วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จาก https://www.facebook.com/thaipsb?sk=notes
25 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 23:08 น.
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงคือจุลินทรีย์ที่พบได้ในแหล่งน้ำทั่วๆไป เช่น ไร่ นา ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ ทะเล   เป็นจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพสูงในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ช่วยลดปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคในพืชและสัตว์

ประโยชน์การใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
  • ช่วยลดก๊าซไฮโดรซัลไฟด์ (H2S) ในดินช่วยให้รากของพืชขยายได้ดีและท าให้พืชกินปุ๋ยได้ดีขึ น 
  • ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหลักลง 50 % 
  • ช่วยให้ผลิตเพิ่มขึ นอย่างน้อย 30 % เนื่องจากพืชมีความสามารถในการดูดกินปุ๋ยได้ดีขึ น 
  • ช่วยให้พืชมีความแข็งแรงและต้านทานโรคได้ดี 
  • เซลล์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ซึ่งโปรตีนเหล่านี ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จ าเป็นครบถ้วน และยังมีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น B1 B2 B6 B12 กรดโฟลิค วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี รงควัตถุสีแดง (carotenoid) และสารโคแฟคเตอร์เช่น ยูบิควิโนน โคเอนไซม์คิวเท็น ไซโตไคนิน ซีเอติน ออกซิน กรดอินโดล -3- อะซิติก (Indole-3-acetic acid : IAA) กรดอินโดล -3-บิวทีริก (Indole-3-butyric acid : IBA) ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช


การขยายจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
จากกลุ่มfc ธรรมะเกษตรอินทรีย์ https://www.facebook.com/groups/692374847475554/permalink/782959228417115/


การใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกับนาข้าว

https://www.facebook.com/thaipsb?sk=notes
25 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 23:24 น.
การใช้กับนาข้าวสามารถใช้ได้ทุกระยะแต่โดยหลักๆจะแนะนำตามนี้
1.ระยะเตรียมดิน ใช้ 1 ลิตรต่อไร่ ผสมน้ำฉีดให้ทั่ว
2.ระยะแตกกอ    ใช้ 1 ลิตรต่อไร่ ผสมน้ำฉีดให้ทั่ว
3.ระยะตั้งท้อง    ใช้ 1 ลิตรต่อไร่ ผสมน้ำฉีดให้ทั่ว

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ช่วยให้ข้าวแตกรากได้ดี แตกรากได้มาก และรากมีสีขาว ดูดกินปุ๋ยได้ดีขึ้น
2.เพื่อออกซิเจนในดิน
3.ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่ค้างอยู่ในดิน ทำให้ดินไม่แข็ง
4.ช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรงไม่ล้มง่าย
5.ช่วยลดแก๊สที่เป็นอันตรายต่อรากต้นข้าว
6.ช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ไม่ดีโตขึ น

สรุป
เมื่อใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแล้วจะช่วยให้รากทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น กินอาหารได้มากขึ้น ทำให้ต้นแข็งแรง เพิ่มน้ำหนัก เมล็ดเต็ม ไม่เป็นโรค ใช้ปุ๋ยน้อยลง ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆอีก เช่น น้ำ อากาศ ความรุนแรงของโรคพืชต่างๆ  






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น